วันนี้ (2 มิถุนายน 2563) แพทย์หญิงพรรณพิมล วิปุลากร เว็บตรงฝากถอนไม่มีขั้นต่ำ อธิบดีกรมอนามัย เปิดเผยภายหลังการลงพื้นที่ให้คำแนะนำแนวทางการป้องกันโรคโควิด 19 ในศูนย์เด็กเล็กและการส่งเสริมโภชนาการเด็กปฐมวัย ณ ศูนย์บริการสาธารณสุข 45 ร่มเกล้า เขตลาดกระบัง กรุงเทพมหานคร ว่า ในช่วงการผ่อนปรนตามมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดโควิด 19 ถึงแม้สถานการณ์ของโรคฯจะมีแนวโน้มที่ดีขึ้น แต่ประชาชนควรต้องป้องกันตนเองโดยสวมหน้ากากทุกครั้งเมื่อออกจากบ้าน และเว้นระยะห่างอยู่เสมอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสถานศึกษา และศูนย์เด็กเล็กที่มีเด็กเล็กต้องให้ความระมัดระวังเป็นพิเศษ ซึ่งการเตรียมความพร้อมก่อนเปิดศูนย์เด็กเล็ก ควรมีการกำหนดจุดรับ-ส่งเข้าออกเฉพาะจุดเท่านั้น และไม่อนุญาตให้บุคคลภายนอกเข้ามาพื้นที่ภายในของศูนย์เด็กเล็ก มีจุดคัดกรองวัดไข้ จุดล้างมือ ล้างเท้า เปลี่ยนเสื้อผ้าเด็ก รวมทั้งเตรียมการทำความสะอาดสถานที่ อุปกรณ์ และยานพาหนะรับส่งเด็ก นอกจากนี้ ควรมีกำหนดพื้นที่เว้นระยะห่าง เช่น การทำกิจกรรม การจัดพื้นที่นอน การรับประทานอาหารด้วย ในส่วนของครูและผู้ดูแลเด็ก ควรมีการทำความสะอาดร่างกายก่อนปฏิบัติงานและสวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลาที่อยู่กับเด็ก หากมีอาการเจ็บป่วยให้หยุดงานและพบแพทย์ทันที
แพทย์หญิงพรรณพิมล กล่าวต่อไปว่า สำหรับศูนย์เด็กเล็กฟื้นนครระยะ 1 โซน 7 ร่มเกล้านั้น
ถือได้ว่ามีการเตรียมความพร้อมและปฏิบัติตามแนวทางการป้องกันโรคโควิด 19 ของกระทรวงสาธารณสุขได้เป็นอย่างดี โดยมีการคัดกรองเด็กก่อนเข้าศูนย์ฯ และรับส่งเด็กโดยเว้นระยะห่าง ให้เด็กล้างมือด้วยน้ำสบู่ ล้างเท้าด้วยน้ำยา ฆ่าเชื้ออย่างอ่อน และเปลี่ยนเสื้อผ้า สวมหน้ากากอนามัยหรือหน้ากากผ้าให้กับเด็ก ในส่วนของการจัดกิจกรรมกลางแจ้งได้มีการผลัดเปลี่ยนแต่ละห้องสลับกันเล่นและจัดกิจกรรมที่บริเวณโดม วันละ 1 ห้อง สำหรับกิจกรรมในห้องเรียน แบ่งเป็นกลุ่มๆละ 5 – 6 คน เพื่อลดจำนวนเด็ก ลดการสัมผัสใกล้ชิดกัน รวมทั้งก่อนและหลังรับประทานอาหารให้เด็กล้างมือด้วยสบู่ทุกครั้ง จัดที่นั่งรับประทานอาหารแบบเว้นระยะห่าง 1 – 2 เมตร รวมทั้งมีการจัดที่นอนให้เด็กโดยเว้นระยะห่างระหว่างกัน และทำความสะอาดอุปกรณ์ เครื่องนอน ของเล่นทุกวัน นอกจากนี้ ได้มีการทำความสะอาดสถานที่ที่เด็กสัมผัสบ่อยๆ เช่น ราวบันได ลูกบิดประตู ทุก 1 – 2 ชั่วโมงอีกด้วย
“ทั้งนี้ การลงพื้นที่ชุมชนร่มเกล้าในครั้งนี้ นอกจากจะเป็นการแนะแนวทางการเตรียมมาตรการเปิด ศูนย์เด็กเล็กตามคำแนะนำของกระทรวงสาธารณสุขในระยะผ่อนปรนแล้ว ยังถือโอกาสนี้เยี่ยมบ้านในชุมชนที่ครอบครัวได้รับผลกระทบในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดโรคโควิด 19 โดยมีการสนับสนุนอาหารตามวัยสำหรับเด็กเล็ก 6 เดือน – 2 ปี และสร้างความรอบรู้ด้านการจัดการอาหารตามวัยที่มีคุณภาพและส่งเสริมพัฒนาการแก่ผู้เลี้ยงดูเด็ก ในพื้นที่นำร่อง 4 ชุมชนได้แก่ ชุมชนฟื้นนครโซน 7 โซน 9 ชุมชนหลังคาแดง ชุมชนเอื้ออาธรณ์ นอกจากนี้ ได้จัดเตรียมอาหารกลางวันและนมกล่องแก่ เด็ก 3 – 6 ปีในชุมชน เพื่อให้เด็กได้รับอาหารกลางวันที่มีคุณภาพและดื่มนมอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งสร้างความรอบรู้ด้านการป้องกันโรคโควิด 19 และสร้างการมีส่วนร่วมของครู – ผู้ปกครองในการดูแลเด็กและป้องกันการแพร่ระบาดโรคฯในชุมชนต่อไป” อธิบดีกรมอนามัย กล่าวในที่สุด
สาวเล่า ปวดฟันคุด ซื้อยาไอบูโพรเฟนกินเอง สุดท้ายเข้า ICU 7 คืน
ยาไอบูโพรเฟน – ยามีสรรพคุณช่วยรักษาอาการเจ็บปวดของร่างกาย ยาแต่ละตัวออกฤทธิ์ต่างกัน หากใช้ไม่ถูกบริบทของโรคหรือทานโดยไม่ทราบว่าแพ้ยาตัวนี้ อาจเกิดผลเสียมากกว่าผลดีได้ ดังเหตุการณ์ที่ผู้ใช้เฟซบุ๊กรายหนึ่ง Aum Aim นามว่า เล่าประสบการณ์ให้เพื่อนในเฟซบุ๊กฟังว่า
“ประสบการณ์ครั้งใหญ่ที่ทำให้ฉันได้จดจำ 19/05/2020 มีอาการปวดฟันคุดมากเลยไปซื้อยาไอบูโพรเฟนมากินเองไม่ได้ปรึกษาหมอ วันแรกซื้อมากินไป 2 เม็ด พอเช้ากินอีก 1 เม็ด เที่ยง 1 เม็ด หลังจากนั้นก็มีอาการปวดตา เจ็บปาก แสบคอ กินอะไรลงไปก็ไม่ได้แสบร้อนไปหมด
เวลาประมาน 10 โมงเช้าของวันที่ 19/05/2020 เริ่มไม่ไหวแล้ว ให้แฟนพามาหาหมอ ผื่นขึ้นเต็มคอ มาหาหมอโรงพยาบาลมาบตาพุด หมอก็ส่งตัวมารักษาตามสิทธิ์ที่โรงพยาบาลสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ เข้าห้องฉุกเฉินเดินเรื่องนอนไอซียู 7 คืน รวมแล้วรักษาตัว 14 วัน สรุปแล้วแพ้ยาตัวนี้
วันนี้ 01/06/2020 วันดีได้ออกโรงพยาบาลแล้วจ้า?
#ผิวหนังที่ไหม้ลอกหมดแล้วค่ะรอแค่ฟื้นฟูร่างกายตัวเอง”
ทั้งนี้ ยาไอบูโพรเฟน เป็นยาในกลุ่มต้านอาการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (Nonsteroidal Anti-Inflammatory Drugs: NSAIDs) นิยมใช้เพื่อรักษาอาการปวด ลดไข้ และแก้อักเสบจากสาเหตุต่าง ๆ
สรรพคุณของยาไอบูโพรเฟน
ใช้เป็นยาแก้อาการข้ออักเสบ โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ (Rheumatoid arthritis), โรคข้อเสื่อมชนิดรุนแรง (Osteoarthritis), โรคข้อสันหลังอักเสบเรื้อรัง (Ankylosing spondylitis), การอักเสบของถุงเล็ก ๆ ที่บรรจุน้ำไขข้อ (Bursitis), โรคเกาต์ระยะเฉียบพลัน (Gout)
ใช้เป็นยาลดการอักเสบของกล้ามเนื้อและเส้นเอ็น เช่น เส้นเอ็นอักเสบ (Tendinitis), ข้อเคล็ดข้อแพลง (Sprain) เป็นต้น
ใช้บรรเทาอาการปวดประจำเดือน (Dysmenorrhea) ปวดศีรษะไมเกรน (Migraine)
ใช้เป็นยาแก้ปวดที่มีอาการเล็กน้อยถึงปานกลาง (Pain) เช่น ปวดศีรษะ ปวดฟัน ปวดกล้ามเนื้อ ปวดหลัง ปวดข้อ เป็นต้น
ใช้เป็นยาลดไข้ (Fever)
อาจใช้เป็นยาระงับอาการ “ดักตัสอาร์เทอริโอซัส ยังคงอยู่” (Patent ductus arteriosus – PDA) ในทารกคลอดก่อนกำหนด (32 สัปดาห์ หรือน้อยกว่า) หรือทารกที่มีน้ำหนักตัวระหว่าง 500-1,500 กรัม
ยาไอบูโพรเฟนจัดเป็นยาอันตรายที่ต้องสั่งจ่ายโดยแพทย์ หรือเภสัชกรเท่านั้น สล็อตเว็บตรง , ฝากถอนไม่มีขั้นต่ำ เว็บตรง